• คำถามที่พบบ่อย - เกี่ยวกับบริษัทจำกัด

1.คำถาม : การนำส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น

รายละเอียดการกรอกในแบบสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (แบบ บอจ. 5)

คำว่า “คัดจากสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น” หมายความว่าอย่างไร?...

ตอบ : การกรอกรายละเอียดในแบบสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (แบบ บอจ.5)

ให้ปฏิบัติตามระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางว่าด้วยการจดทะเบียน

ห้างหุ้นส่วนและบริษัท พ.ศ.2549 ข้อ 55 แก้ไขโดยระเบียบ

สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท

พ.ศ. 2549 แก้ไขเพิ่มเติม (ครั้งที่ 1) พ.ศ. 2551 ข้อ 10

คือ การนำส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นนอกจากวันประชุมสามัญประจำปี

หากผู้ยื่นไม่ได้ระบุวันประชุมสามัญประจำปีหรือวิสามัญก็ให้รับไว้ได้โดยให้ระบุว่า

“ได้คัดลอกบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นจากสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น เมื่อวันเดือนปีใดแทน”


2.คำถาม : การประชุมผู้ถือหุ้นเพื่ออนุมัติงบการเงินต้องประกาศ นสพ.

และส่งหนังสือนัดประชุมโดยทางไปรษณีย์ตอบรับด้วยหรือไม่?...

ตอบ : กฎหมายกำหนดว่าในการบอกกล่าวนัดประชุมผู้ถือหุ้น

จะต้องมีการประกาศหนังสือ พิมพ์ และส่งหนังสือนัดประชุมโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ

ดังนั้น ไม่ว่าจะประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาเรื่องใดๆ ก็ตาม

ต้องดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ข้างต้น


3.คำถาม : บริษัทจะส่งหนังสือนัดประชุมให้ถึงตัวผู้ถือหุ้นโดยตรง

แทนการส่งหนังสือนัดประชุมโดยทางไปรษณีย์ตอบรับได้หรือไม่?...

ตอบ : สามารถทำได้ แต่ยังคงต้องมีการประกาศหนังสือพิมพ์ควบคู่กันไปด้วย


4.คำถาม : บริษัทจะส่งหนังสือนัดประชุมไปยังผู้ถือหุ้นโดยใช้ E-mail แทนการส่งทางไปรษณีย์ตอบรับ ได้หรือไม่?

ตอบ : ไม่ได้ เนื่องจากกฎหมายกำหนดวิธีการไว้ชัดเจนให้ส่งทางไปรษณีย์ตอบรับเท่านั้น


5.คำถาม : การประชุมสามัญ และการประชุมวิสามัญ คืออะไร?

ตอบ : การประชุมสามัญและการประชุมวิสามัญ ก็คือ การประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นนั่นเอง

แต่มีความแตกต่างกันดังนี้ การประชุมสามัญ มี 2 กรณี คือ

(1) การประชุมสามัญครั้งแรก เป็นการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น

ซึ่งจะต้องจัดให้มีขึ้นภายใน 6 เดือนนับแต่วันจดทะเบียนบริษัท

(2) การประชุมสามัญครั้งต่อๆไป เป็นการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น

หลังจากที่ได้มีการประชุมสามัญครั้งแรกไปแล้ว

โดยกำหนดให้มีการประชุมอย่างน้อยหนึ่งครั้งทุกระยะเวลา 12 เดือน

การประชุมวิสามัญ เป็นการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นครั้งอื่นๆ

นอกจากที่เป็นการประชุมสามัญ โดยปกติการประชุมวิสามัญ

ก็เพราะมีเรื่องจำเป็นและเป็นเรื่องที่ กฎหมายหรือข้อบังคับกำหนด

ให้ต้องนำเสนอที่ประชุมใหญ่พิจารณา


6.คำถาม: มติธรรมดาและ มติพิเศษ แตกต่างกันอย่างไร?

ตอบ : การลงมติของที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นมี 2 ประเภท คือ มติธรรมดาและมติพิเศษ

ซึ่งแตกต่างกันใน 3 กรณี คือ

(1) กิจการที่จะลงมติ กิจการที่จะลงมติธรรมดาเป็นกิจการทั่วๆไป

ซึ่งกฎหมายมิได้บังคับให้ตกลงกันด้วยมติพิเศษ

ส่วนกิจการที่กฎหมายบังคับให้ลงมติพิเศษ มี 6 กรณี คือ

1.1 การแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิหรือข้อบังคับ

1.2 การเพิ่มทุนโดยออกหุ้นใหม่

1.3 การออกหุ้นใหม่ให้ชำระค่าหุ้นด้วยสิ่งอื่นนอกจากชำระด้วยเงิน

1.4 การลดทุน

1.5 การเลิกบริษัท

1.6 การควบบริษัทเข้าด้วยกัน

(2) การบอกกล่าวเรียกประชุม

คำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเพื่อลงมติธรรมดา

ให้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อย 1 ครั้ง

ก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วันและส่งทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังผู้ถือหุ้นทุกคน

ก่อนวันนัดประชุมไม่น้อย กว่า 7 วันแต่ถ้าเป็นคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่เพื่อลงมติพิเศษ ต้องลงพิมพ์โฆษณา

และส่งทางไปรษณีย์ตอบรับก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน

(3) การลงมติ มติธรรมดาให้ถือตามเสียงข้างมากที่ที่ประชุมลงคะแนนเสียง

ซึ่งอาจเป็นการลงคะแนนด้วยวิธีชูมือ หรือการลงคะแนนลับก็ได้ ส่วนมติพิเศษ

ที่ประชุมใหญ่ต้องลงมติในเรื่องนั้น โดยคะแนนเสียงข้างมากไม่ต่ำกว่าสามในสี่

ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้น ที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน


7.คำถาม : การลงคะแนนเสียงด้วยวิธีชูมือ (โดยเปิดเผย) และการลงคะแนนลับแตกต่างกันอย่างไร?

ตอบ : โดยหลักแล้วในการออกเสียงลงมติในที่ประชุมใหญ่ ให้ออกเสียงโดยวิธีชูมือ

เว้นเสียแต่ว่าจะมีผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 2 คนร้องขอให้ลงคะแนนลับ

ซึ่งการลงคะแนนเสียง 2 ประเภทนี้แตกต่างกันในเรื่องของการนับคะแนน

กล่าวคือ การลงคะแนนด้วยวิธีชูมือ ให้นับผู้ถือหุ้นแต่ละคนที่มาประชุม

หรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นมาประชุมแทน มีเสียงคนละหนึ่งเสียง

โดยไม่คำนึงถึงจำนวนหุ้น การลงคะแนนลับ ให้นับคะแนนตามจำนวนหุ้น

โดยถือว่าผู้ถือหุ้นทุกคนมีคะแนนเสียง เสียงหนึ่งต่อหนึ่งหุ้น


8.คำถาม : คำบอกกล่าว เรียกประชุมใหญ่ ซึ่งต้องลงประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่

จะต้องประกาศเป็นภาษาไทยเท่านั้น หรือประกาศเป็นภาษาต่างประเทศได้ด้วย?...

ตอบ : โดยปกติต้องประกาศเป็นภาษาไทย

แต่ถ้าต้องการประกาศเป็นภาษาต่างประเทศด้วย ก็ควรกำหนดไว้ในข้อบังคับ

เพื่อเป็นการป้องกันการโต้แย้งระหว่างผู้ถือหุ้น กับบริษัท

ทั้งนี้รวมถึงหนังสือนัดประชุมที่จะต้องส่งทางไปรษณีย์ตอบรับด้วย


9.คำถาม : หุ้นของบริษัท มีกี่ชนิด อะไรบ้าง?

ตอบ : ตาม ป.พ.พ. หุ้นของบริษัทจำกัด มี 2 ชนิด คือ

(1) หุ้นสามัญ เป็นหุ้นชนิดที่ผู้ถือหุ้นในบริษัทมีสิทธิตามธรรมดา

เช่น สิทธิเข้าประชุม และลงคะแนนเสียงในที่ประชุมใหญ่

สิทธิที่จะได้รับเงินปันผล เมื่อบริษัทได้กำไร เป็นต้น

(2) หุ้นบุริมสิทธิ เป็นหุ้นชนิดที่ผู้ถือหุ้นในบริษัทมีสิทธิเป็นพิเศษบางประการ

ดีหรือด้อยกว่าหุ้นสามัญ เช่น สิทธิที่จะได้รับเงินปันผลก่อน

มีสิทธิออกเสียงเป็น 2 เท่าของหุ้นสามัญ หรือกำหนดให้ได้รับคืนเงินค่าหุ้น

ก่อนหุ้นสามัญเมื่อบริษัทเลิกกันก็ได้ อย่างไรก็ตามหุ้นบุริมสิทธินี้

ต้องวางกำหนดสภาพและบุริมสิทธิตั้งแต่ตอนประชุมตั้งบริษัท

หรือตอนเพิ่มทุน(หากบริษัทออกหุ้นใหม่เป็นหุ้นบุริมสิทธิ)

และเมื่อได้ออกหุ้นบุริมสิทธิแล้ว ห้ามมิให้แก้ไขบุริมสิทธิของหุ้นนั้นอีก


10.คำถาม : ใบหุ้น คืออะไร มีกี่ประเภท อะไรบ้าง และแต่ละประเภทมีวิธีการโอนแตกต่างกันอย่างไร?

ตอบ : ใบหุ้น คือหนังสือสำคัญซึ่งบริษัทออกให้แก่ผู้ถือหุ้น

เพื่อเป็นหลักฐานแสดงการถือ หุ้น ใบหุ้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

(1) ใบหุ้นชนิดระบุชื่อ คือใบหุ้นชนิดที่ระบุชื่อผู้ถือหุ้น

(2) ใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ คือใบหุ้นชนิดที่ไม่ระบุชื่อผู้ถือหุ้น

แต่จะระบุในใบหุ้นนั้นว่าเป็นหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ

ซึ่งหุ้นชนิดนี้จะออกได้ก็ต่อเมื่อ

2.1 มีข้อบังคับของบริษัทอนุญาตไว้

2.2 หุ้นได้ใช้ราคาเต็มมูลค่าแล้ว การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อ

ต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอน และมีพยานอย่างน้อย 1 คน

ลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้โอนและผู้รับโอน และจะใช้ยันบริษัท

หรือบุคคลภายนอกได้ ต่อเมื่อมีการจดทะเบียนการโอนลงในสมุดทะเบียน

ผู้ถือหุ้นของบริษัทแล้ว ส่วนการโอนหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือจะสมบูรณ์

เพียงส่งมอบใบหุ้นให้แก่กันเท่านั้น


11.คำถาม : เวลาที่บริษัท จะบอกกล่าวเรียกประชุมผู้ถือหุ้น ต้องประกาศ นสพ.

และส่งหนังสือนัดประชุมโดยทางไปรษณีย์ตอบรับด้วยนั้น ถ้าเป็นกรณีที่ห้างฯ

จะประชุมผู้เป็นหุ้นส่วน จะต้องประกาศ นสพ. และส่งทางไปรษณีย์ตอบรับเหมือนบริษัทหรือไม่?...

ตอบ : การบอกกล่าวเรียกประชุมที่ต้องประกาศหนังสือพิมพ์ และส่งไปรษณ๊ย์ตอบรับ

ใช้เฉพาะการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทเท่านั้น ไม่ใช้บังคับกรณีที่เป็นห้างฯแต่อย่างใด


12.คำถาม : กฎหมายใหม่ให้ จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและจดทะเบียนบริษัท

พร้อมกันภายในวันเดียวกันได้ แต่ถ้าต้องการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิก่อน

แล้วจดทะเบียนบริษัทในภายหลังตามแบบเดิม สามารถทำได้หรือไม่?...

ตอบ : ได้


13.คำถาม : กรณีผู้ถือหุ้น หลายคนมีที่อยู่เดียวกัน บริษัทสามารถส่งหนังสือเชิญประชุม

ผู้ถือหุ้นหลายฉบับทางไปรษณีย์ตอบรับในซองเดียวกันได้หรือไม่?...

ตอบ : ไม่ได้ ต้องแยกส่งคนละซอง มิฉะนั้นจะไม่มีหลักฐานการส่งไปยังผู้ถือหุ้นแต่ละคน


14.คำถาม : การส่งหนังสือนัดประชุมทางไปรษณีย์ตอบรับ ใครจะต้องเป็นผู้เซ็นรับในใบตอบรับ?

ตอบ : ผู้ที่จะเซ็นชื่อรับหนังสือนัดประชุมที่ส่งทางไปรษณีย์ตอบรับ

จะต้องเป็นผู้ ที่มีหน้าที่รับหนังสือนั้นไว้ เช่น ตัวผู้ถือหุ้นเอง

หรือบุคคลที่อยู่ภายในบ้านเดียวกับผู้ถือหุ้นนั้น


15.คำถาม : ถ้าบริษัทมีผู้ ถือหุ้นอยู่ต่างประเทศ เวลาบริษัทจะเรียกประชุมผู้ถือหุ้น

บริษัทจะต้องลงโฆษณาหนังสือพิมพ์ในต่างประเทศด้วยหรือไม่?...

ตอบ : กฎหมายกำหนดให้ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่

ซึ่งหมายถึง หนังสือพิมพ์ที่ออกในจังหวัดหรือมีจำหน่ายในจังหวัด

ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงาน แห่งใหญ่ของบริษัท ดังนั้นแม้ผู้ถือหุ้นอยู่ต่างประเทศ

ก็ไม่ต้องลงโฆษณาหนังสือพิมพ์ในต่างประเทศ


16.คำถาม : ในการจ่ายเงินปันผล บริษัทจะต้องลงประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์หรือไม่?

ตอบ : หากบริษัมีหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้น การจ่ายเงินปันผลบริษัท

ต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังผู้ถือหุ้นโดยทางไปรษณีย์

หรือส่งมอบแก่ตัวผู้ถือหุ้นเองก็ได้ แต่ถ้าบริษัทมีหุ้นชนิดที่มีใบหุ้นออกให้แก่ผู้ถือ

บริษัทต้องประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์อย่างน้อยหนึ่งครั้งด้วย


17.คำถาม : การยื่นจด ทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและจดทะเบียนบริษัท

พร้อมกันในวันเดียว ผู้มีอำนาจลงนามในคำขอจดทะเบียน คือ ผู้เริ่มก่อการหรือกรรมการ?...

ตอบ : ผู้มีอำนาจลงนามในคำขอจดทะเบียนคือกรรมการผู้มีอำนาจ


18.คำถาม : การนับระยะเวลาส่งคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น มีวิธีการนับอย่างไร?

ตอบ : การนับระยะเวลาส่งคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นให้เริ่มนับตั้งแต่

วันถัดจากวันที่ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์หรือวันที่ส่งคำบอกกล่าวทาง

ไปรษณีย์ตอบรับ ซึ่งเป็นวันที่ดำเนินการหลังสุดเป็นวันแรกแห่งระยะเวลา

และการประชุมจะมีขึ้นได้ในวันถัดจากวันสิ้นสุดแห่งกำหนดระยะเวลานั้น


19.คำถาม : การโฆษณาในหนังสือพิมพ์เพื่อบอกกล่าวว่าจะปันผล จะต้องโฆษณาล่วงหน้าเป็นเวลา 7 วันหรือไม่?

ตอบ : กฎหมายไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ว่าจะต้องบอกกล่าวล่วงหน้ากี่วัน


20.คำถาม : กรณีที่บริษัท มีกรรมการคนเดียวและกรรมการได้ถึงแก่กรรมแล้ว

ใครจะเป็นผู้ดำเนินการเรียกประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อพิจารณาแก้ไขเปลี่ยนแปลง กรรมการ?...

ตอบ : เมื่อบริษัทไม่มีกรรมการเหลืออยู่แล้ว ให้ผู้ถือหุ้นซึ่งมีจำนวนหุ้นรวมกัน

ไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าแห่ง จำนวนหุ้นของบริษัทเป็นผู้เรียกประชุมได้เอง

เพื่อพิจารณาแก้ไขเปลี่ยนแปลงกรรมการ (เทียบเคียงกับมาตรา 1173 , 1174)


21.คำถาม : บริษัทมี กรรมการคนเดียวได้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งต่อบริษัท

และได้แจ้งการลาออกต่อนาย ทะเบียน ตามมาตรา 1153/1

แล้วกรรมการที่ลาออกดังกล่าวจะเป็นผู้ลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนเพื่อ

ให้ตัวเองออกจากกรรมการโดยไม่มีกรรมการเข้าใหม่ได้หรือไม่?...

ตอบ : กรรมการที่ลาออกสามารถยื่นคำขอจดทะเบียนดังกล่าวได้

นายทะเบียนจะรับคำขอไว้แต่ยังไม่รับจดทะเบียน หลังจากนั้นต้องให้ผู้ถือหุ้น

ซึ่งมีจำนวนหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้า แห่งจำนวนหุ้นของบริษัท

เป็นผู้เรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาแต่งตั้งกรรมการแทนคนที่ลาออก

และให้กรรมการใหม่เป็นผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนกรรมการเข้าใหม่

พร้อมเอกสารประกอบดังนี้

1.หนังสือพิมพ์ที่ลงพิมพ์โฆษณาคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น

2.สำเนาหนังสือบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาเรื่องกรรมการ

พร้อมด้วยหลักฐานการส่งหนังสือบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นทาง

ไปรษณีย์ตอบรับไปยังผู้ถือหุ้นทุกคน หรือ หลักฐานการรับทราบ

การเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นแล้วแต่กรณี

3.สำเนารายงานการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นที่ปรากฏมติแต่งตั้งกรรมการ

4.สำเนารายชื่อผู้ถือหุ้นซึ่งปรากฏลายมือชื่อผู้ถือหุ้นที่ได้เข้าประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น

แล้วนายทะเบียนจึงจะรับจดทะเบียนทั้ง 2 คำขอพร้อมกัน


22.คำถาม : บริษัทมีกรรมการเพียงคนเดียว สามารถจัดประชุมคณะกรรมการ

ก่อนที่จะเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นได้หรือไม่?

ตอบ : กรณีที่บริษัทมีกรรมการเพียงคนเดียว ไม่สามารถจัดให้มีการประชุม

คณะกรรมการได้ แต่สามารถบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นได้เลย


23.คำถาม : กรณีที่ส่งคำ บอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ทางไปรษณีย์ตอบรับแล้ว

แต่หนังสือบอกกล่าวถูกส่งคืนบริษัทเนื่องจากไม่มีผู้รับจะถือว่าการส่งคำ

บอกกล่าวนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่...

ตอบ : การส่งคำบอกกล่าวฯ กม. กำหนดให้ส่งไปรษณีย์ตอบรับ

ไปยังที่อยู่ของผู้ถือหุ้นตามที่ปรากฏอยู่ใน ทะเบียนผู้ถือหุ้น

เมื่อส่งโดยวิธีดังกล่าวแล้ว แม้จะไม่มีผู้รับอาจเนื่องมาจากผู้ถือหุ้นย้ายที่อยู่ใหม่

แล้วไม่แจ้งบริษัท ก็ต้องถือว่าการส่งหนังสือบอกกล่าวฯ นั้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว


24.คำถาม : กรณียื่นคำขอจดทะเบียนล่าช้าเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดจะต้องเสียค่าปรับเท่าใด?

ตอบ : ระเบียบกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ว่าด้วยการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติ

กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจด ทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด

บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 เริ่มใช้บังคับ

ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2552 เป็นต้นไป โดย ข้อ 12 วรรคสอง

ของระเบียบดังกล่าวกำหนดให้ใช้อัตราค่าปรับชั่วคราวตามตารางแนบท้าย

ระเบียบเป็นระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ

หลังจากครบกำหนดเวลาแล้วจึงให้ใช้อัตราค่าปรับตามปกติต่อไป

ทั้งนี้ เว้นแต่ความผิดฐานไม่ทำงบดุลเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่ภายในเวลาที่

กำหนดและความผิดที่ตรวจพบตามที่มีการร้องเรียนให้ใช้อัตราค่าปรับตามปกติ

ตั้งแต่วันที่ระเบียบมีผลใช้บังคับ สำหรับอัตราค่าปรับชั่วคราวกรณียื่นคำขอจดทะเบียน

ล่าช้าเกินกว่าที่ กม. กำหนดห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทมีโทษปรับ 200 บาท

และในบางกรณีกรรมการบริษัท หรือผู้ชำระบัญชี ต้องมีโทษปรับ 200 บาทด้วย


25.คำถาม : คำขอที่จะต้อง ยื่นจดทะเบียนภายในเวลาที่ กม. กำหนดนั้น

หากวันสุดท้ายที่จะต้องยื่นจดทะเบียนตรงกับวันหยุดราชการ

ผู้ขอจดทะเบียนสามารถยื่นจดทะเบียนในวันแรกที่เปิดทำการตามปกติได้หรือ ไม่?...

ตอบ : ได้


26.คำถาม : ในการประชุม สามัญประจำปีวันที่ลงประกาศโฆษณาบอกกล่าว

เรียกประชุมผู้ถือหุ้นและวันที่ส่ง หนังสือนัดประชุมทางไปรษณีย์ตอบรับ

จะเป็นวันก่อนวันที่ที่ปรากฏในรายงานผู้สอบบัญชีได้หรือไม่?...

ตอบ : บริษัทสามารถลงประกาศโฆษณาบอกกล่าวเรียกประชุมผู้ถือหุ้น

และส่งทางไปรษณีย์ ตอบรับก่อนวันที่ผู้สอบบัญชีรับรองงบการเงินได้

แต่เมื่อผู้สอบบัญชีรับรองงบการเงินแล้ว บริษัทต้องส่งสำเนางบการเงิน

ไปยังผู้ถือหุ้นก่อนวันนัดประชุมใหญ่ล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 3 วัน


27.คำถาม : บริษัทจดทะเบียนเลิกแล้วจะต้องชำระบัญชีให้เสร็จภายในเวลาเท่าใด

และต้องประกาศ หนังสือพิมพ์เรื่องเลิกบริษัทภายในกี่วัน ถ้าลืมประกาศหนังสือพิมพ์

จะต้องทำอย่างไร?...

ตอบ : กฎหมายไม่ได้กำหนดเวลาไว้ว่าจะต้องชำระบัญชีให้เสร็จภายในเวลาเท่าใด

แต่กำหนดว่า ให้ยื่นรายงานการชำระบัญชีทุกระยะ 3 เดือน และถ้าการชำระบัญชี

ยังดำเนินอยู่เกินกว่า 1 ปี ผู้ชำระบัญชีต้องเรียกประชุมใหญ่ในเวลาสิ้นปีทุกปี

ส่วนการประกาศหนังสือพิมพ์เรื่องเลิกบริษัท ต้องประกาศภายใน 14 วัน

นับแต่วันเลิกถ้าลืมประกาศก็ต้องไปประกาศใหม่

แต่เวลาจดทะเบียนอาจถูกเปรียบเทียบปรับ


28.คำถาม : บริษัทมีทุนจดทะเบียน 6 ล้านบาท เรียกชำระเงินค่าหุ้นแล้ว 4 ล้านบาท

จะเรียกให้ชำระเพิ่มอีก 2 ล้านบาท จะต้องทำอย่างไร?...

ตอบ : มีจดหมายส่งไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังผู้ถือหุ้นล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า 21 วัน

ให้ชำระเงินตามจำนวนที่เรียก โดยกำหนดให้ส่งไปยังผู้ใด ณ ที่ใดและเวลาใด


29.คำถาม : บริษัทที่ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างแล้ว

ต้องจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีอีกหรือไม่?

ตอบ : บริษัทที่ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างแล้ว

กฎหมายถือว่าบริษัทนั้นสิ้นสภาพนิติบุคคลตั้งแต่วันที่นายทะเบียนขีดชื่อ

ออกจากทะเบียนเป็นต้นไป ดังนั้น บริษัทจึงไม่สามารถจดทะเบียนใดๆ ได้อีก


30.คำถาม : บริษัทจด ทะเบียนเลิกและเสร็จการชำระบัญชีไปแล้ว

เจ้าหนี้จะยังมีสิทธิฟ้องบริษัทได้อีกหรือไม่ หรือจะร้องต่อศาลให้บริษัทลูกหนี้

นั้นคืนสู่ทะเบียน เหมือนกรณีถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างได้หรือไม่?...

ตอบ : เจ้าหนี้ยังมีสิทธิฟ้องผู้ถือหุ้นหรือผู้ชำระบัญชีของบริษัทได้อีก 2 ปี

นับแต่จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี หรือจะร้องศาลให้สั่งเพิกถอน

การจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีก็ได้ แต่ไม่ใช่ร้องศาลให้สั่งจดชื่อบริษัท

คืนสู่ทะเบียนเหมือนกรณีบริษัทร้าง


31.คำถาม : บริษัทเคยจดทะเบียนข้อบังคับไว้ ต่อมามีการแก้ไข ป.พ.พ.

บริษัทจะไม่จดทะเบียนแก้ไขข้อบังคับได้หรือไม่?

ตอบ : แม้บริษัทจะไม่จดทะเบียนแก้ไขข้อบังคับของบริษัท

แต่ข้อบังคับข้อใดที่ขัดกับกฎหมายใหม่ ข้อบังคับข้อนั้นก็จะสิ้นผลไป

ไม่สามารถใช้บังคับได้อีกต่อไป ต้องใช้บังคับตามกฎหมายใหม่

ส่วนข้อบังคับที่ไม่ขัดกับกฎหมายใหม่ ข้อบังคับนั้นก็ยังสามารถใช้ได้ต่อไป

แต่ถ้าบริษัทไม่ต้องการใช้ข้อบังคับทั้งฉบับก็จะต้องจดทะเบียนยกเลิก

ข้อบังคับเดิมทั้งฉบับ แล้วให้ใช้ประมวลแพ่งและพาณิชย์เป็นข้อบังคับของบริษัทแทน


32.คำถาม : จะตรวจสอบรายชื่อห้างหุ้นส่วนบริษัทร้างได้ที่ไหนบ้าง?

ตอบ :

(1) www.dbd.go.th

(2) ฝ่ายถอนทะเบียนร้างนิติบุคคล สำนักทะเบียนธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

(3) สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจในเขตกรุงเทพมหานคร

(4) สำนักบริการข้อมูลธุรกิจ

(5) สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดทุกจังหวัด


33.คำถาม : บริษัทมีผู้ถือ หุ้นเกิน 7 คน ต้องการให้เหลือ 3 คน

ตามกฎหมายใหม่สามารถทำได้หรือไม่

ต้องเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติก่อนหรือไม่

และหลังจากโอนหุ้นแล้วต้องแจ้งต่อนายทะเบียนทุกครั้งหรือไม่?...

ตอบ : สามารถทำได้โดยการโอนหุ้นให้แก่กัน การโอนหุ้นเป็นเรื่องเฉพาะตัว

ระหว่างผู้โอนและผู้รับโอน ไม่จำเป็นต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น

เว้นแต่จะมีข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น กฎหมายบังคับให้เป็นหน้าที่

ของกรรมการที่จะส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ในวันประชุมสามัญ

ไปยังนายทะเบียนอย่างน้อยปีละครั้งภายใน 14 วันนับแต่วันประชุมสามัญประจำปี

ส่วนการเปลี่ยนแปลงรายชื่อผู้ถือหุ้นหลังจากนั้นกฎหมายไม่ได้บังคับให้แจ้ง

ต่อนายทะเบียน กรรมการจะส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่

ต่อนายทะเบียนหรือไม่ก็ได้


34.คำถาม : บริษัทจด ทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิไว้แล้วก่อนที่กฎหมายใหม่ใช้บังคับ

เมื่อกฎหมายใหม่ใช้บังคับแล้วยังสามารถจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทต่อไปได้หรือ ไม่?...

ตอบ : ได้


35.คำถาม : ผู้ที่เป็นพยานในหนังสือบริคณห์สนธิ (บอจ. 2 หน้า 2)

จะเป็นผู้รับมอบอำนาจในการยื่นคำขอจดทะเบียนได้หรือไม่?

ตอบ : ได้


36.คำถาม : การลดทุนและการ ควบบริษัท ที่กฎหมายกำหนดให้แจ้งบรรดาเจ้าหนี้


เพื่อให้สิทธิคัดค้านนั้น เจ้าหนี้ หมายถึง ใครบ้าง


หมายรวมถึงเจ้าหนี้การค้าปกติด้วยหรือไม่?...


ตอบ : เจ้าหนี้หมายถึงเจ้าหนี้ทุกประเภท

 

37.คำถาม : ลักษณะของบริษัทจำกัด?

ตอบ :

1. ต้องมีผู้ร่วมลงทุนอย่างน้อย 3 คนขึ้นไป

2. แบ่งทุนออกเป็นหุ้นๆ ละเท่าๆ กัน

3. ผู้ถือหุ้นรับผิดจำกัดเพียงเงินค่าหุ้นที่ยังส่งไม่ครบ

4. มูลค่าของหุ้นๆ หนึ่งนั้น ต้องไม่ต่ำกว่า 5 บาท

5. หุ้นนั้นแบ่งแยกไม่ได้


38.คำถาม : ที่อยู่ของผู้เริ่มก่อการต่างชาติจะต้องระบุที่ใด?

ตอบ :

1. กรณีที่มีถิ่นอยู่อย่างถาวรในประเทศไทย และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านให้ระบุ

ที่อยู่ในประเทศไทย ตามทะเบียนบ้าน

2. กรณีที่มีถิ่นอยู่ในต่างประเทศ ให้ระบุที่อยู่ซึ่งสามารถติดต่อได้ในต่างประเทศ


39.คำถาม : ผู้เริ่มก่อการ 1 ใน 3 ต้องเป็นกรรมการตอนตั้งบริษัทด้วยหรือไม่?

ตอบ : ไม่ต้องเป็น เว้นแต่ที่ประชุมตั้งบริษัทเลือกตั้งผู้เริ่มก่อการคนนั้น

ขึ้นเป็นกรรมการของบริษัท


40.คำถาม : ผู้เริ่มก่อการต้องเป็นผู้ถือหุ้นตอนตั้งบริษัทด้วยหรือไม่?

ตอบ : ผู้เริ่มก่อการทุกคนต้องเป็นผู้ถือหุ้นตอนตั้งบริษัทด้วย

โดยถือหุ้นอย่างน้อยคนละหนึ่งหุ้น


41.คำถาม : ผู้เริ่มก่อการตายไป 1 คน จะต้องทำอย่างไร?

ตอบ :

1. กรณีที่ผู้เริ่มก่อการมีทั้งหมด 3 คน หากผู้เริ่มก่อการคนใดคนหนึ่งตายไป

ทำให้จำนวนผู้เริ่มก่อการ เหลือไม่ถึง 3 คนไม่อาจดำเนินการจัดตั้งบริษัทได้

2. กรณีที่ผู้เริ่มก่อการมีมากกว่า 3 คน หากผู้เริ่มก่อการคนใดคนหนึ่งตายไป

มีผู้เริ่มก่อการเดิมเหลืออยู่ ไม่น้อยกว่า 3คน และมีความประสงค์

จะดำเนินการจัดตั้งบริษัท ให้ยื่นขอคำจดทะเบียนแก้ไข

เพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิก่อนการจัดตั้งบริษัท ข้อ.6 (แก้ไขผู้เริ่มก่อการ)

พร้อมทั้งแนบสำเนา ใบมรณะบัตรของผู้เริ่มก่อการที่ตายประกอบเรื่องด้วย


42.คำถาม : นิติบุคคลเป็นผู้เริ่มก่อการได้หรือไม่?

ตอบ : “ไม่ได้”


43.คำถาม : ผู้เยาว์เป็นผู้เริ่มก่อการได้หรือไม่?

ตอบ : ผู้เยาว์เป็นผู้เริ่มก่อการได้ ต้องปรากฏว่า

1. มีอายุไม่น้อยกว่า 12 ปี

2. ได้ลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบด้วยตนเอง


44.คำถาม : ผู้ถือหุ้นของบริษัทเหลือไม่ถึง 3 คน จะได้หรือไม่?

ตอบ : ได้ แต่อาจเป็นเหตุให้ศาลสั่งให้เลิกบริษัท


45.คำถาม : หลักเกณฑ์การควบบริษัท?

ตอบ :

1. บริษัทจะควบเข้ากันได้ โดยแต่ละบริษัทเรียกประชุมผู้ถือหุ้น

เพื่อให้มีมติพิเศษให้ควบบริษัท

2. ถ้าหากมีเจ้าหนี้คัดค้าน บริษัทจะต้องใช้หนี้หรือได้ให้ประกัน

เพื่อหนี้รายนั้นก่อนจึงจะควบ เข้ากันได้

3. จำนวนทุนและหุ้นของบริษัทใหม่นั้น

ต้องเท่ากับยอดรวมจำนวนทุนและหุ้นของบริษัทเดิม ที่มาจะควบเข้ากัน

4. สิทธิและความรับผิดของแต่ละบริษัทเดิมที่ได้มาควบบริษัทกัน

ย่อมเป็นสิทธิและความรับผิด ของบริษัทใหม่


46.คำถาม : จดทะเบียนว่าชำระค่าหุ้นเต็มมูลค่าแล้ว

จะขอเปลี่ยนเป็นชำระ 25% ได้หรือไม่?

ตอบ : เอกสารในการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัทเป็นเอกสารมหาชน

เมื่อนายทะเบียนได้รับจดทะเบียนแล้วจึงไม่สามารถจะขอแก้ไขเปลี่ยนแปลง

รายละเอียดนั้นได้ ดังนั้นในการจดทะเบียนแต่ละครั้ง ผู้เกี่ยวข้องจึงต้องตรวจสอบ

รายละเอียดให้ถูกต้องและตรงตามความจริงทุกครั้ง ก่อนยื่นจดทะเบียน

และขอเตือนว่าอย่าได้ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน

โดยยังไม่มีการกรอกรายละเอียดเด็ดขาด


47.คำถาม : อยากทราบทุนจดทะเบียนขั้นต่ำสุด?

ตอบ : บริษัทจำกัด ตามกฎหมาย (ป.พ.พ.)

กำหนดมูลค่าหุ้นไม่น้อยกว่าหุ้นละ 5 บาท

ฉะนั้น ทุนจดทะเบียนขั้นต่ำสุดของบริษัท คือ 15 บาท ก็สามารถจดทะเบียน

จัดตั้งบริษัทได้แล้ว ห้างหุ้นส่วน กฎหมายไม่ได้กำหนดทุนขั้นต่ำไว้


48.คำถาม : หลักเกณฑ์การเพิ่มทุนของบริษัท?

ตอบ :

1. การเพิ่มทุนบริษัทจำกัดต้องได้รับมติพิเศษของที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น ให้เพิ่มทุน

2. บริษัทจำกัดเพิ่มทุนได้ด้วยการออกหุ้นใหม่

3. หุ้นของบริษัทจำกัดที่ออกใหม่ ถ้าจะชำระด้วยสิ่งอื่นนอกจากตัวเงิน

ต้องมีมติพิเศษของที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น

4. หุ้นของบริษัทจำกัดที่ออกใหม่นั้น จะขายให้แก่บุคคลภายนอกไม่ได้


49.คำถาม : หลักเกณฑ์การลดทุนของบริษัท?

ตอบ :

1. การลดทุนบริษัทจำกัด ต้องได้รับมติพิเศษของที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นให้ลดทุนได้

2. บริษัทจะลดทุนโดยการลดมูลค่าแต่ละหุ้น ๆ ให้ต่ำลง

หรือลดจำนวนหุ้นให้น้อยลงก็ได้

3. ทุนของบริษัทจะลดลงให้ต่ำกว่าหนึ่งในสี่ของทุนเดิมไม่ได้

4. ถ้าหากมีเจ้าหนี้คัดค้านการลดทุน บริษัทจะต้องใช้หนี้

หรือให้ประกันเพื่อหนี้รายนั้นก่อน จึงจะ ลดทุนได้


50.คำถาม : หลักเกณฑ์การแก้ไขเพิ่มเติมชื่อของบริษัท?

ตอบ :

1. การแก้ไขเพิ่มเติมชื่อของบริษัท ต้องได้รับมติพิเศษ

ของที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นให้แก้ไขชื่อได้

2. หากบริษัทได้จดทะเบียนดวงตราไว้และตรานั้นมีชื่อบริษัทอยู่

ต้องจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม ตราของบริษัทด้วย


51.ค

เขียนรีวิว

โน๊ต: ไม่รองรับข้อความแบบ HTML!
    ไม่ชอบ           ชอบ
รหัสป้องกันสแปม

คำถามที่พบบ่อย - เกี่ยวกับบริษัทจำกัด

  • รหัสสินค้า: FAQ2
  • สถานะสต๊อก: มีสินค้าในสต๊อก
  • 999 บาท