• ข้อแนะนำ-การประชุมบริษัท

ข้อแนะนำ-การประชุมบริษัท

คำแนะนำสำหรับการประชุมบริษัท เพื่อสอบถามความเห็นในที่ประชุมใหญ่

ซึ่งจะแบ่งการลงมติเป็น 2 ประเภท คือ มติธรรมดา และ มติพิเศษ


มติธรรมดา

ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ และ ส่งหนังสือนัดประชุม ไม่น้อยกว่า 7 วัน

สำหรับกรณีต่างๆ ดังนี้

1.การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น

2.การเปลี่ยนแปลงกรรมการหรืออำนาจกรรมการ

3.แก้ไขเพิ่มดวงตราสำคัญ

4.การแจ้งการจ่ายเงินปันผล ในกรณีมีหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ

5.การชำระบัญชี

กรณีที่ 1 ประกาศนัดประชุมพิจารณางบการเงินและผู้ชำระบัญชี

กรณีที่ 2 ประกาศบอกกล่าวนัดประชุมเพื่อรายงานการชำระบัญชีและจัดการทรัพย์สิน

6.การประชุมผู้ถือหุ้น เมื่อผู้ถือหุ้นมีจำนวนรวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้า

แห่งจำนวนหุ้นของบริษัทได้เข้าชื่อกันร้องขอให้เรียกประชุม


ตัวอย่างการออกหนังสือเชิญประชุมมติธรรมดา

-หนังสือเชิญประชุมสามัญประจำปี เพื่อรับรองงบการเงิน

-หนังสือเชิญประชุมสามัญ เพื่อแก้ไขกรรมการ หรือ อำนาจกรรมการ


มติพิเศษ

ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ และ ส่งหนังสือนัดประชุม ไม่น้อยกว่า 14 วัน

สำหรับกรณีต่างๆ ดังนี้

1.การเปลี่ยนแปลงหนังสือบริคณห์สนธิ, การแก้ไขข้อบังคับของบริษัทฯ

2.การเพิ่มทุน

3.การแก้ไขชื่อและตราสำคัญบริษัทฯ

4.การแก้ไขที่ตั้งสำนักงานใหญ่ (กรณีข้ามจังหวัด)

5.การแก้ไขวัตถุประสงค์บริษัท

6.การเลิกบริษัท

กรณีที่ 1 ประกาศนัดประชุมผู้ถือหุ้น

กรณีที่ 2 ประกาศแจ้งความประสงค์จะเลิกบริษัทฯ

7.การควบบริษัทฯ

กรณีที่ 1 ประกาศนัดประชุมผู้ถือหุ้น

กรณีที่ 2 ประกาศแจ้งความประสงค์จะเลิกบริษัทฯ

8.การลดทุน

กรณีที่ 1 ประกาศนัดประชุมผู้ถือหุ้น

กรณีที่ 2 ประกาศแจ้งความประสงค์จะลดทุน

9.การประชุมผู้ถือหุ้น เมื่อบริษัทขาดทุนลงเกินกึ่งหนึ่งของทุน


ตัวอย่างการออกหนังสือเชิญประชุมมติพิเศษ

หนังสือเชิญประชุมวิสามัญ ย้ายสำนักงานใหญ่ข้ามจังหวัด

หนังสือเชิญประชุมวิสามัญ แก้ไขวัตถุประสงค์

ตัวอย่างวาระอื่น เช่น แก้ไขชื่อ, ข้อบังคับ, รอบบัญชี


กรณีเพิ่มทุนบริษัทจำกัด หนังสือเชิญประชุมวิสามัญ

- ต้องระบุวาระการประชุมเรื่องการเพิ่มทุน และ แก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 5. (ทุน)

- ลงเฉพาะหนังสือเชิญประชุม ไม่ต้องลงประกาศเพิ่มทุน


กรณีลดทุนบริษัทจำกัด

1. หนังสือเชิญประชุมวิสามัญ ลดทุนบริษัทจำกัด

- ต้องระบุวาระการประชุมเรื่องการลดทุน และ แก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 5. (ทุน)

2. ประกาศลดทุนบริษัทจำกัด

- ลงประกาศโฆษณาลดทุนในหนังสือพิมพ์ อย่างน้อย 1 ครั้ง

ภายใน 14 วัน นับจากวันจดทะเบียนลดทุน


กรณีเลิกบริษัทจำกัด ประกอบด้วยทั้งหมด 5 ครั้ง คือ

1. หนังสือเชิญประชุมวิสามัญ ลงมติเลิกบริษัท

- ลงประกาศหนังสือสือพิมพ์ไม่น้อยกว่า 14 วัน ก่อนวันนัดประชุม

ต้องระบุวาระการประชุมเรื่องการเลิกบริษัท รวมทั้ง แต่งตั้งผู้ชำระบัญชี

หรือ แต่งตั้งผู้สอบบัญชี (ถ้ามี)

2. ประกาศเลิกบริษัท

- ลงประกาศหนังสือสือพิมพ์ ประกาศเลิกบริษัท ไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง

และต้องลงประกาศหนังสือสือพิมพ์ภายใน 14 วัน นับจากวันเลิกบริษัท

3. ประกาศแจ้งเจ้าหนี้-ลูกหนี้

- ลงประกาศหนังสือสือพิมพ์ ประกาศแจ้งเจ้าหนี้-ลูกหนี้ ไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง

และต้องลงประกาศหนังสือสือพิมพ์ภายใน 14 วัน นับจากวันประชุมเลิกบริษัท

4. หนังสือเชิญประชุมวิสามัญ อนุมัติงบ ณ วันเลิก

- ลงประกาศหนังสือสือพิมพ์ไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนวันนัดประชุม มติธรรมดา

5. หนังสือเชิญประชุมวิสามัญ อนุมัติการชำระบัญชี

- ลงประกาศหนังสือสือพิมพ์ไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนวันนัดประชุม มติธรรมดา


ตัวอย่าง กรณีจดแจ้งเลิกบริษัทแล้วเสร็จวันเดียวกับวันที่ประชุม

ขั้นตอนการจดทะเบียนเลิก

1 ลงประกาศวันที่ 1 นัดประชุมวันที่ 16 - มติพิเศษ

เพื่อเลิกบริษัทวันที่ 16 (ลงประกาศไม่น้อยกว่า 14 วัน ก่อนวันประชุม)

2 ลงประกาศวันที่ 28

เพื่อประกาศเลิกบริษัท (ลงประกาศภายใน 14 วัน นับจากวันเลิก)

3 ลงประกาศวันที่ 29

เพื่อประกาศแจ้งเจ้าหนี้ ว่าได้ทำการเลิกบริษัท (ลงประกาศภายใน 14 วัน นับจากวันเลิก)

ขั้นตอนการชำระบัญชีและอนุมัติงบ ณ วันเลิก

4 ลงประกาศวันที่ 30 นัดประชุมวันที่ 8 เดือนถัดไป - มติธรรมดา

เพื่ออนุมัติงบ ณ วันเลิก (ลงประกาศไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนวันประชุม)

5 ลงประกาศวันที่ 9 เดือนถัดไป นัดประชุมวันที่ 17 เดือนเดียวกัน - มติธรรมดา

เพื่ออนุมัติการชำระบัญชี (ลงประกาศไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนวันประชุม)




คำแนะนำ

ไฟล์ประกาศที่ส่ง ไม่จำเป็นต้องประทับตรา สามารถแก้ไขและส่งไฟล์ word ได้เลย

กรณีที่ไม่ต้องประชุมผู้ถือหุ้น: ย้ายสำนักงานใหญ่ภายในจังหวัดเดียวกัน,

จดเพิ่มเติมสาขาบริษัท, เปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น (ยื่น บอจ.5)

วาระใดในตัวอย่าง บริษัทไม่ใช้ สามารถตัดออกได้เลย แต่ให้คงวาระอื่น เอาไว้

วันที่ประชุมที่สามารถลงประกาศได้:


ตัวอย่าง การวางแผนการประชุมบริษัท เพื่อการลงประกาศหนังสือพิมพ์

เช่น ลงประกาศ หนังสือพิมพ์ ฉบับวันที่ 14

มติทั่วไป จะประชุมได้ตั้งแต่ วันที่ 22 เป็นต้นไป

และต้องระบุวันที่ 22 เป็นต้นไป ในหนังสือประชุม

(นับจากวันที่ลงประกาศ ไป 7 วัน โดยจะประชุมวันถัดจากที่ครบ 7 วันเป็นต้นไป)

มติพิเศษ จะประชุมได้ตั้งแต่ วันที่ 29 เป็นต้นไป

และต้องระบุวันที่ 29 เป็นต้นไป ในหนังสือประชุม

(นับจากวันที่ลงประกาศ ไป 14 วัน โดยจะประชุมวันถัดจากที่ครบ 14 วันเป็นต้นไป)

เขียนรีวิว

โน๊ต: ไม่รองรับข้อความแบบ HTML!
    ไม่ชอบ           ชอบ
รหัสป้องกันสแปม

ข้อแนะนำ-การประชุมบริษัท

  • รหัสสินค้า: MeetingMethod
  • สถานะสต๊อก: มีสินค้าในสต๊อก
  • 999 บาท